สวัสดีเด้อค่าาาา....ครั้งที่แล้วเราแวะไปดูโบราณสถานที่พะเยามาแล้ว วันนี้ข้อยจะพาลงเหนือมาที่อีสานกันบ้าง ซึ่งอีสานถือว่าเป็นภูมิภาคที่พบหลักฐานทางโบราณคดีเยอะทีเดียว ข้อยเองจึงขอนำเสนอแหล่งโบราณคดีที่คิดว่าทุกคนต้องรู้จักไว้....แต่นแต๊น! บ้านโนนวัดเด้อค่า เพราะอะไรถึงเป็นสถานที่แห่งนี้ ไปอ่านกันเลย!!!!!
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด
คือแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด
และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้ นับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก
เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม
อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภายในได้มีขุดพบหลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ
และไหโบราณลวดลายงดงาม
ซึ่งมีอายุอานามใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานีอีกด้วย
การขุคค้นทางโบราณคดี บ้านโนนวัด...เกิดจาก???
เนื่องมาจากโครงการศึกษาวิจัย
“The Development of An Iron Age Chiefdom : Phase Two” ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในประเทศ
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ บริเวณบ้านโนนวัด
ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อศึกษาเรื่องราวของคนในประวัติศาสตร์
ก่อนที่จะพัฒนาเข้าสู่อารยธรรมอย่างแท้จริงในช่วงคริสตกาล สาเหตุที่เลือกศึกษาในบริเวณนี้ เนื่องจากปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า
มีอารยธรรมเขมรโบราณที่เก่าแก่ คือ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน
และปราสาทหินพนมรุ้ง
อันเป็นถิ่นกำเนิดของกษัตริย์ที่สำคัญของราชวงศ์หนึ่งของเขมรโบราณ คือ มหิธรปุระ
และจากการขุดค้นในครั้งนั้นทำให้ทราบว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นการตั้งรกราก
ของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโนนวัด จังหวัดนครราชสีมา แหล่งขุดค้นนี้มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย
เนื่องจากเป็นที่ตั้งรกรากของสังคมเกษตรกรรมสังคมแรกมีอายุราว 2,100 – 1,250
ปี ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ยุคเหล็ก
จนถึงยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานคล้ายบ้านเชียง
แต่สิ่งที่ขุดค้นได้จากแหล่งประวัติศาสตร์บ้านโนนวัดมีมากมายกว่าบ้านเชียง
และยังคงสภาพความสมบูรณ์ไว้ได้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาความต่อเนี่องของวัฒนธรรมโบราณ
ซึ่งยังไม่เคยปรากฏขึ้นในประเทศไทย
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบจำนวนมากในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้
มีอายุอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ครบทั้ง 4 ช่วง คือ ยุคหินใหม่ ยุคสำริด
และยุคเหล็ก ต่อเนื่องจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ คือ ทวารวดี เขมร อยุธยา
รัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน...แล้ววิถีชีวิตชุมชนโบราณแห่งนี้แต่เดิมเป็นอย่างไร???....
ชุมชนโบราณที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดมีการดำรงชีวิตหรือความเป็นอยู่โดยการเลี้ยงสัตว์จำพวก
วัว ควาย หมู และสุนัข ล่าสัตว์และดักสัตว์จำพวกวัวป่า หมูป่า กวางป่า เนื้อสมัน
ละอง / ละมั่ง เนื้อทราย เก้ง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
จับสัตว์น้ำและสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก จำพวกปลา หอย เต่า และตะพาบน้ำ
การบริโภคสัตว์นิยมกินไขกระดูก โดยการทุบขวางกระดูก (diaphysis) นอกจากนี้ยังมีการเพาะปลูกข้าวและการแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนภายนอก
สภาพแวดล้อมรับแหล่งโบราณคดีเป็นที่ราบน้ำท่วมขังและมีแม่น้ำ ลำน้ำสาขา คลอง สระ
หนอง ส่วนป่านั้นที่โดดเด่นคือป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าแดง หรือป่าเต็งรัง
เพราะป่าเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี
เอ๊ะ!...แล้วทำไมเราต้องรู้จัก???
นั่นก็เพราะว่า
ชุมชนโบราณแห่งนี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจ
ที่ประกอบไปด้วย
1. แหล่งโบราณคดีที่มีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย
2.
หลุมขุดค้นที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. มีโอกาสได้รับการพิจารณาให้เป็น “แหล่งมรดกโลกบ้านโนนวัด”
ในอนาคต
4. มีความเก่าแก่อยู่ในยุคหินใหม่
ประมาณ 4,500 ปีมาแล้ว ร่วมสมัยเดียวบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ถึงประมาณ 1,000 ปี
5. มีลวดลายที่ปรากฏบนภาชนะดินเผา
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่บ้านโนนวัด
6.
ครั้งแรกของประเทศไทยที่พบว่าเป็นศพผู้ใหญ่ที่ถูกนำบรรจุใส่ในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่มีอายุราว
4,000 ปี
และใน วันที่ 22 กันยายน 2558 ได้มีการลงนามในประกาศจังหวัดนครราชสีมา
เพื่อประกาศขึ้นทะเบียนมรดกจังหวัดนครราชสีมา แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด
(อาศัยอำนาจตาม พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
และคำสั่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งขาติที่ 25/2550 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550) และถือว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นอีกหนึ่งมรดกโลกนั่นเอง
อ้างอิง
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561,จาก : https://th.wikipedia.org
พิพิธภัฑ์เมืองนครราชสีมา.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561,จาก :http://www.koratmuseum.com/index.html
ชุตินันท์ ทองคำ.บ้านโนนวัด.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2561,จาก : https://www.gotoknow.org/blog/bannonwat
ที่มารูปภาพ :http://www.koratmuseum.com/Images/ban-non-wat
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น