จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561

โบราณสถานศิลปะขอมในดินแดนสยาม

         สวัสดีออเจ้าทั้งหลาย (กำลังอินกับละคร5555+)😁😄😅 ขอบอกไว้ก่อนเลยว่านี่อาจเป็นกระทู้สุดท้ายแต่จะท้ายสุดรึเปล่า? ข้ามิรู้ได้ อิอิ วันนี้ก็มีสาระดีๆเกี่ยวกับโบราณคดีมาฝากทุกคนเช่นเคย แต่! เราจะสวมบทบาทเป็น ดา วินชี, ปีกัสโซ ,ไมเคิลแองเจโล่ ไปเสพงานศิลปะกัน....แต่เป็นศิลปะขอมนะ😏 (เออะ...มันไปด้วยกันได้ช่วยมั้ย?) ขอบอกเลยว่าศิลปะขอมที่เราจะพาไปรู้จักเนี่ยเป็นแหล่งโบราณสถานที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายแห่งในประเทศไทยเลยแหละ  เอ๊ะ! แล้วเรารู้ได้ยังไงน๊าว่าเป็นของขอม มีข้อสังเกตุยังไง หลายคนคงอยากรู้แล้วละสิ เราจะช้าอยู่ทำไมละคะ อ่านต่อด่วนๆเลยค่ะ 👇👇👇👇👇



      ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ๑๗ ในช่วงระยะเวลานี้ตรงกับศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวน และแบบนครวัด ได้พบปราสาทขอม ในประเทศไทยหลายแห่ง เช่น ปราสาทพนมวัน และปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทกู่สวนแตง ปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทตาเมืองธม ปราสาทบ้านพลวง และปราสาทศีขรภูมิ ที่จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ที่จังหวัดศรีสะเกษ ปราสาทกู่กาสิงห์  ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ปราสาทสด็อกก็อกธม ที่จังหวัดสระแก้ว

ข้อสังเกต👀👀👀👀

        รูปแบบและแผนผังของปราสาทในช่วงระยะเวลานี้ มีระเบียบแบบแผนเดียวกับปราสาทในกัมพูชา สมัยเมืองพระนคร และเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ที่จัดเป็นศาสนสถานประจำเมือง มีโครงสร้างที่สำคัญ คือ ปราสาทประธานที่อยู่ตรงกลางอาจมีหลังเดียว เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง หรือเป็นหมู่ ๓ หลัง ๕ หลัง หรือ ๖ หลัง เช่น ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทศีขรภูมิ นอกจากนี้ ทับหลังในศิลปะแบบนครวัดส่วนใหญ่ จะนิยมสลักภาพเล่าเรื่อง ประกอบด้วยรูปบุคคลเล็กๆ เต็มพื้นที่ เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทศีขรภูมิ นอกจากนี้ ยังใช้หลักฐานของงานประติมากรรมประดับศาสนสถาน เป็นตัวกำหนดรูปแบบทางศิลปะ เช่น ประติมากรรมรูปบุคคลในศิลปะแบบบาปวน จะสังเกตได้จากทรงผมที่ถัก และเกล้าขึ้นไปเป็นมวยอยู่เหนือศีรษะ คางเป็นร่อง ชายผ้านุ่งด้านหน้าเว้าใต้พระนาภี ด้านหลังสูงขึ้นมาถึงกึ่งกลางหลัง ในขณะที่ศิลปะแบบนครวัดนิยมมงกุฎทรงกรวย มีเทริด (กระบังหน้า) และประดับเครื่องทรง
        มีข้อสังเกตที่สำคัญทางด้านรูปแบบของปราสาทขอมศิลปะแบบนครวัดที่พบในดินแดนไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ที่มีลักษณะเฉพาะเกิดขึ้น โดยอาจถือเป็นงานที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น ได้แก่ การทำยอดปราสาทที่เป็นทรงพุ่ม เช่น ที่ปราสาทหินพิมาย และปราสาทพนมรุ้ง โดยเปลี่ยนการประดับชั้นหลังคาจากปราสาทจำลอง เป็นการประดับแผ่นหินที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยม ที่เรียกว่า นาคปักแทน ซึ่งในปัจจุบันพบว่า ลักษณะดังกล่าว เกิดขึ้นในประเทศกัมพูชาก่อนแล้ว

        หลักฐานที่น่าสนใจในช่วงระยะเวลานี้คือ ได้พบว่า มีการสร้างปราสาทที่มีความสำคัญ และมีขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้งได้พบหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้าง เช่น ศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระนามผู้สร้าง ทำให้ได้ข้อสันนิษฐาน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ได้ในระดับหนึ่งว่า บริเวณภาคอีสานตอนล่างนี้ เป็นดินแดนสำคัญของอาณาจักรขอม โดยในบางสมัยอาจมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงที่มีบุคคลสำคัญมาปกครอง หลักฐานจากจารึก ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ ซึ่งทรงสร้างปราสาทในแคว้นรอบนอกเมืองพระนคร หรือ "ดินแดนนอกกัมพุช" เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ซึ่งทรงสร้างปราสาทหินพิมาย และนเรนทราทิตย์ ซึ่งสร้างปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทสำคัญในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗  ในประเทศไทยที่หลายคนรู้จัก

           ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์



          ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

           ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์   



         ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ


         เป็นยังไงกันบ้างงงงง???? ถ้าเราลองสังเกตดีๆจะเห็นว่าลักษณะของปราสาทที่เป็ส่วนยอดก็จะมีส่วนคล้ายกันใช่มั้ยล่ะ อีกอย่างโครงสร้างอื่นๆก็มีความคล้ายกันอีกด้วยนะ....อืมมม มีใครที่รู้สึกว่าอยากไปสัมผัสสถานที่จริงกันมั้ยเอ่ย ถ้าใครมีโอกาสได้ไปก็อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์ดีๆด้วยน๊า เพราะเราเองก็ยังไปไม่ครบเลย 55555  แต่ถ้ามีโอกาสก็อยากไปสัมผัสให้เห็นกับตาสักครั้ง สุดท้ายนี้ก็หวังว่าหลายๆคนจะได้อะไรไปบ้างจากการเข้ามาดูบล็อกของเรา วันนี้ต้องลาไปละจ้าาาา see yaaaa✋✋✋✋


อ้างอิง
  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ปราสาทขอมในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที 5 เมษายน 2561.จาก, http://kanchanapisek.or.th 

ขอบคุณรูปสวยๆจาก www.google.com จ้าาาาาา ❤❤❤❤  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น