จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

ชุมชนโบราณควนลูกปัด...ชื่อนี้มีที่มา

......Hi!..กลับมาเจอกันอีกแล้วครับผมมมม ครั้งนี้เราก็มีแหล่งโบราณคดีที่มาเสิร์ฟอีกเช่นเคย บอกเลยว่าไม่ใช่โบราณสถานน๊าาา แต่เป็นวัตถุโบราณที่สวยๆงามๆ ซึ่งมีหลายประเภทมากๆ หลายคนอาจจะพอเดาได้จากชื่อกระทู้เราแล้วละสิ ใช่เลย! ครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ "ควนลูกปัด" หรือมีอีกชื่อว่า "แหล่งโบราณคดีคลองท่อม" ที่จังหวัดกระบี่นั่นเอง กระบี่ไม่ได้มีแค่หาดทรายขาวๆกับทะเลสวยๆเท่านั้นนะคะ  สำหรับใครที่มาสายโบราณคดีละก็ไม่ควรพลาดเลยนะ! 
      อันดับแรกเรามาดูกันว่าเหตุไฉนทำไมถึงเรียกว่าควนลูกปัดกันนะ???😕😶😯
     ประวัติชื่อชุมชน คำว่า "ควนลูกปัด" เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเมื่อมีการค้นพบลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ บนเนินดินบริเวณนี้ สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเพราะเห็นว่าไม่มีค่าอะไร หรือเห็นว่าเป็นของโบราณเกรงจะเกิดอาเพทตามความเชื่อและเรียกบริเวณนี้ว่า ควนลูกปัด ส่วนชื่อ"คลองท่อม" เป็นชื่อหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ ตั้งขึ้นตามชื่อ"ลำคลอง" ที่ไหลผ่าน 
    ลักษณะ

    ลักษณะของควนลูกปัดเป็นเนินดิน ไม่มีคูน้ำคันดินหรือคูเมือง เป็นเนินราบในระดับความสูง ๘ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ราบกว้างประมาณครึ่งตารางกิโลเมตร แวดล้อมด้วยสวนยางพารา สวนผลไม้ ป่าละเมาะและบ้านเรือนของชาวบ้าน ด้านตะวันออกเป็นแนวสูงต่อมาจากไหล่เขา เนินด้านเหนือไปสิ้นสุดกลางบริเวณที่ราบต่ำ ทางใต้และตะวันตกเป็นที่ราบมีลำคลองไหลผ่านชื่อคลองท่อม


    เอ๊ะ!? แล้วลูกปัดแก้วสีๆนี่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ยังไงอ่ะ???😕🙋😮😏🙊👀
 พบหลักฐานการเข้าอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่ก็มีการพบวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย คงจะเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมมาจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเนินดินคลองท่อมคงเป็นพื้นเมืองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาใกล้เคียงนั่นเอง เพราะจากหลักฐานต่างๆจากบริเวณอ่าวพังงาลงมาถึงบริเวณเขาขนาบน้ำ ถ้ำเสือ ถ้ำหลัง โรงเรียนทับปริก ถ้ำอ่าวโกบหน้าเชิง ล้วนเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ชุมชนคลองท่อมอยู่ใกล้ทะเล มีลำคลองไหลผ่าน อยู่ในเส้นทางการเดินข้ามแหลมจากตะวันตกไปตะวันออก เป็นที่ผ่านไปมาของบรรดาพ่อค้าต่างๆ เช่น จากอินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย เป็นต้น ชื่อเดิมจะเป็นอย่างไรไม่พบหลักฐาน
   
    พบหลักฐานอะไรบ้างจากควนลูกปัด🔍🔍🔍🔍
     หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ 
-ประเภทวัตถุที่ทำด้วยหิน เช่น เครื่องมือหิน หินดุ แท่นหินสลัก แม่พิมพ์ ตราประทับ ลูกปัดหิน ก้อนรัตนชาติ หินบด หินลับ ครกหิน ฯลฯ
-วัตถุที่ทำด้วยแก้ว มีลูกปัดแก้วหลายสีหลายขนาด กำไลแก้ว แก้วหล่อ เศษแก้วหลอม แหวน เศษภาชนะแก้ว ฯลฯ
-วัตถุที่ทำด้วยดินเผา มีเศษภาชนะดินเผาทั้งที่เคลือบและไม่เคลือบ มีลายและไม่มีลาย ตะคันดินเผา แวดินเผา แม่พิมพ์ ลายประทับรูปกลีบบัว รูปดอกไม้ ดินเผารูปสัตว์ รูปคนเล็ก ๆ หินดุ
-วัตถุที่ทำด้วยสำริด มีจำพวกแหวนสำริด กำไล ตุ้มหู รูปสัตว์ต่าง ๆ เหรียญที่เป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ชิ้นส่วนคันฉ่องสำริดของจีน
-วัตถุที่ทำด้วยเงิน มีจำพวกกำไล แหวน ตุ้มหู เหรียญรูปลักษณ์ต่าง ๆ แร่เป็นก้อนซึ่งสันนิษฐานว่าแร่เงิน
   นอกจากนี้จากการสำรวจของกรมศิลปากรหลายต่อหลายครั้งนั้นยังพบหลักฐานประเภทข้าว ประเภทถ่าน รวมไปถึงประเภทโลหะอีกด้วย


     แหล่งโบราณคดีคลองท่อมหรือควนลูกปัด เป็นสถานที่สำคัญในเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี วัตถุโบราณส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม สำหรับใครที่สนใจหรือใครที่มีโอกาสไปเที่ยวที่จังหวัดกระบี่ก็อย่าลืมแวะเวียนไปกันได้ แล้วมาแชร์ประสบการณ์ดีๆกันได้น๊าาา 


ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก....
(อ้างอิง)
 กรมศิลปากร. คลองท่อม (ควนลูกปัด). สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม              2561.จาก,www.finearts.go.th/fad15/parameters/km/item/คลองท่อม-ควนลูกปัด.html
 ควนลูกปัด แหล่งโบราณคดีคลองท่อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561. จาก, http://www.prapayneethai.com
 ควนลูกปัด.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561 .จาก, kanchanapisek.or.th/kp8/culture/krb/krb101.html

ขอบคุณรูปภาพสวยๆ จาก : https://mgronline.com/travel/detail/9580000055168 


  

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

บ้านโนนวัด...แหล่งโบราณคดีที่คุณต้องรู้จัก!

       สวัสดีเด้อค่าาาา....ครั้งที่แล้วเราแวะไปดูโบราณสถานที่พะเยามาแล้ว วันนี้ข้อยจะพาลงเหนือมาที่อีสานกันบ้าง  ซึ่งอีสานถือว่าเป็นภูมิภาคที่พบหลักฐานทางโบราณคดีเยอะทีเดียว ข้อยเองจึงขอนำเสนอแหล่งโบราณคดีที่คิดว่าทุกคนต้องรู้จักไว้....แต่นแต๊น! บ้านโนนวัดเด้อค่า เพราะอะไรถึงเป็นสถานที่แห่งนี้ ไปอ่านกันเลย!!!!!



             แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด คือแหล่งโบราณที่มีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่ใหญ่ที่สุด และมีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ณ เวลานี้  นับได้ตั้งแต่ยุคหินใหม่ สำริด เหล็ก เรื่อยมากระทั่งยุคปัจจุบัน กว่า 200 ชั่วอายุคน ตัวแหล่งขุดค้นตั้งอยู่ในเขตตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ภายในได้มีขุดพบหลุมศพ กระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ และไหโบราณลวดลายงดงาม ซึ่งมีอายุอานามใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่จังหวัดอุดรธานีอีกด้วย